analyticstracking
หัวข้อ   “ สรุปภาวะความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในรอบปี 2563
คนไทยชี้ค่าครองชีพสูงและปัญหาหนี้สิน เป็นความเสี่ยงสูงสุดที่คนไทยต้องเผชิญในปี 2563
รองลงมาเผชิญความเสี่ยงภัยธรรมชาติ/โรคระบาดร้ายแรง และเผชิญความเสี่ยงด้านการเมือง
โดยเรื่องที่อยากให้เร่งแก้ปัญหามากที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงคือ แก้ค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพงขึ้นคิดเป็น
ร้อยละ 61.8 รองลงมาร้อยละ 55.2 แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และร้อยละ 53.0 แก้ปัญหาการชุมนุมทางการเมือง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “สรุปภาวะความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในรอบปี
2563” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,161 คน
พบว่า ความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบันพบว่า
ในภาพรวมมีความเสี่ยงเฉลี่ย 4.87 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน
 
                  โดยด้านที่คนไทยมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ด้านค่าครองชีพและ
หนี้สิน ได้ค่าเฉลี่ย 5.85 คะแนน
รองลงมาคือ ด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง
ได้ค่าเฉลี่ย 5.79 คะแนน ด้านการเมือง ได้ค่าเฉลี่ย 5.78 คะแนน ด้านการจราจรและการ
เดินทาง ได้ค่าเฉลี่ย 5.43 คะแนน และด้านสุขภาพร่างกาย ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.23 คะแนน
 
                  ส่วนด้านที่คนไทยมีความเสี่ยงน้อยที่สุดคือ ด้านความสัมพันธ์
ในครอบครัว ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.34 คะแนน
รองลงมาคือ ด้านชีวิตและทรัพย์สิน
ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 คะแนน และด้านสุขภาพจิตใจ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 คะแนน
 
                  สำหรับเรื่องที่อยากให้แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยงพบว่า อันดับแรกอยากให้แก้ปัญหา
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 61.8
รองลงมาร้อยละ 55.2 อยากให้แก้ปัญหาผลกระทบด้าน
เศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย และร้อยละ 53.0 อยากให้แก้ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยก
ของคนไทยด้วยกัน
 
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “คิดว่าในปัจจุบันนี้การดำเนินชีวิตประจำวันต้องเผชิญความเสี่ยงในด้านต่างๆ
                 ดังต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด”

ความเสี่ยง
คะแนนเฉลี่ย
(เต็ม 10 คะแนน)
ด้านค่าครองชีพและหนี้สิน เช่น สินค้าราคาสูง ข้าวของแพง มีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ มีภาระหนี้สิน หรือมีโอกาสเป็นหนี้ ฯลฯ
5.85
ด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง เช่น น้ำท่วม พายุ โรคระบาด COVID-19 ฯลฯ
5.79
ด้านการเมือง เช่น ปัญหาการเมือง การชุมนุมทางการเมือง ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง
5.78
ด้านการจราจรและการเดินทาง เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร รถติด
5.43
ด้านสุขภาพร่างกาย เช่น กินอาหารไม่ถูกสุขอนามัย มีสารพิษเจือปน ได้รับมลพิษทางอากาศและทางน้ำเช่น ฝุ่น PM2.5 ควัน ฯลฯ
5.23
ด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น ความเสี่ยงที่จะสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ
4.96
ด้านการงานอาชีพ เช่น มีโอกาสตกงาน ถูกลดเงินเดือน รายได้ลดลง หน้าที่การงานไม่มั่นคง
4.64
ด้านสุขภาพจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ทุกข์ใจ ซึมเศร้า ฯลฯ
4.42
ด้านชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย ถูกลูกหลง โจรกรรมทรัพย์สิน การก่อการร้ายกราดยิง และล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ
4.21
ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เข้าใจกัน และความแตกแยกในครอบครัว
2.34
เฉลี่ยรวม
4.87
 
 
             2. เรื่องที่อยากให้แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยง
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตกค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น
61.8
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย
55.2
การชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน
53.0
การทุจริตคอร์รัปชั่น การบังคับใช้กฎหมาย
49.4
การว่างงาน การตกงาน
42.2
การป้องกันโรคระบาด การแพร่เชื้อ
42.1
ปัญหาจราจรและการเดินทาง
31.7
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
30.7
การแก้ปัญหาน้ำท่วม
27.5
อื่นๆ อาทิเช่น ราคาสินค้าเกษตร แก้รัฐธรรมนูญ ไม่มีเรื่องต้องแก้
3.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่ต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
                  2) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากให้แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยง
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 2-4 พฤศจิกายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 7 พฤศจิกายน 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
631
54.3
             หญิง
530
45.7
รวม
1,161
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
182
15.7
             31 – 40 ปี
147
12.7
             41 – 50 ปี
263
22.7
             51 – 60 ปี
291
25.0
             61 ปีขึ้นไป
278
23.9
รวม
1,161
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
728
62.8
             ปริญญาตรี
321
27.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
112
9.6
รวม
1,161
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
255
22.0
             ลูกจ้างเอกชน
221
19.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
362
31.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
59
5.1
             ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
219
18.9
             นักเรียน/ นักศึกษา
9
0.8
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
30
2.6
รวม
1,161
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898